Home webboard โครงสร้างกรม ฯ วัตถุประสงค์ กระดานถาม - ตอบ Login

รูปแบบของการปรับปรุงทัศนียภาพพื้นที่ทำเหมืองแร่ เมื่อเลิกดำเนินการ
        การทำเหมืองแร่ก่อนสิ้นสุดการอนุญาตให้ทำเหมืองแร่จะต้องมีการจัดเตรียมรูปแบบการปรับปรุงพื้นที่ในแบบต่าง ๆ ซึ่งระยะเวลาที่ต้องดำเนินการควรมีระยะเวลาประมาณ 3 ปีก่อนสิ้นสุดและต้องมีการเตรียมดำเนินการ โดยเฉพาะหากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ป่าไม้จะต้องมีการกำหนดพื้นที่และแผนงานที่เน้นเฉพาะ ในการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและปรับความสมดุลแห่งธรรมชาติให้ดีขึ้น รูปแบบการปลูกต้นไม้ในบริเวณพื้นที่ที่ยังคงมีสภาพเป็นป่าที่ยังมีต้นไม้และลูกไม้ขึ้นบ้าง ควรให้ดำเนินการปลูกป่าแบบปลูกเสริม พันธุ์ไม้ควรเป็นพันธุ์ไม้เดิมและมีความหลากหลายชนิดของพันธุ์ไม้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์เชิงนิเวศได้อย่างยั้งยืน เมื่อระบบนิเวศที่สร้างขึ้นมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลง มีการอพยพของสัตว์หลายชนิดทั้งนกและแมลง พื้นที่ดังสามารถพัฒนาเป็นทางเดินป่าธรรมชาติ ใช้เป็นกรณีศึกษาได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ภายหลังการใช้พื้นที่ทำเหมืองแร่แล้วควรจะได้นำพื้นที่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้หลายรูปแบบ  

คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น


พื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม
 

พื้นที่เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ราชการ
 

พื้นที่สวนสาธารณะ
 

พื้นที่สงวนสำหรับการศึกษาธรรมชาติ
 

พื้นที่เพื่อการปลูกสวนป่าหรือการปลูกป่าทดแทน
 

พื้นที่กลบฝังขยะหรือสารพิษ
 

1. พื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม
         การฟื้นฟูพื้นที่ที่ผ่านการเหมืองแร่แล้ว เพื่อเป็นพื้นที่เกษตรกรรม จะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ประกอบด้วย ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความเหมาะสมของสภาพภูมิประเทศ และชนิดของพันธุ์ไม้ เป็นต้น

2. พื้นที่เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ราชการ
         ในปัจจุบันประชากรมีจำนวนมากขึ้นส่งผลให้ที่ดินมีราคาสูงไปด้วย จึงมีการพัฒนาพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่แล้วให้เป็นที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ราชการ

3. พื้นที่สวนสาธารณะ
         การฟื้นฟูพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่แล้วให้เป็นสวนสาธารณะ มักจะดำเนินการใกล้แหล่งชุมชนหรือบริเวณที่มีการคมนาคมสะดวก เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ หรือเป็นพื้นที่สำหรับการเล่นกีฬาและออกกำลังกายของประชาชนในชุมชน

4. เป็นแหล่งเก็บกักน้ำสาธารณะ
         พื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่แล้วที่มีลักษณะเป็นขุมเหมืองขนาดใหญ่ และมีน้ำท่วมขังอยู่สามารถนำมาใช้เป็นแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภค บริโภค ของชุมชน แต่ต้องคำนึงถึงคุณภาพน้ำ ซึ่งจะต้องทำการปรับปรุงก่อนนำมาใช้ประโยชน์

5. พื้นที่สงวนสำหรับการศึกษาธรรมชาติ
         สามารถทำได้โดยการปล่อยพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่แล้วที่ต้องการจะศึกษาให้มีการปรับสภาพและฟื้นฟูพื้นที่เองตามธรรมชาติไม่ต้องไปจัดการแต้ประการใด เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับการศึกษาการทดแทนกันของสังคมพืช (Plant Succession)

6. พื้นที่เพื่อการปลูกสวนป่าหรือการปลูกป่าทดแทน
         การปลูกสวนป่าหรือการปลูกป่าทดแทน บริเวณพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่แล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อการรักษาสภาพของดิน การป้องกันการกัดเซาะและชะล้างพังทลายของหน้าดิน และทำให้พื้นที่มีความสอดคล้องกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

7. พื้นที่กลบฝังขยะหรือสารพิษ
         การนำพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่แล้วมาใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่ฝังกลบขยะหรือสารพิษจะต้องคำนึงถึงสภาพทางธรณีวิทยาของชั้นดิน แหล่งน้ำใต้ดิน และระยะทางในการขนย้าย ซึ่งวิธีการฝังกลบจะต้องมีการศึกษาให้ชัดเจนและถูกต้องตามหลักวิชาการ



กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
กระทรวงอุตสาหกรรม
75/10 ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กทม.